“หลุยส์ เฮส”ขึ้นแท่นแบรนด์แอมบาสเดอร์ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ “เยาวชนไทยขับเคลื่อนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” พร้อมเปิดตัวภาพยนตร์สารคดี

ต้อนรับวันสิ่งแวดล้อมโลก “หลุยส์ เฮส” นักแสดงหนุ่มชื่อดัง ขึ้นแท่นแบรนด์แอมบาสเดอร์

มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESF : Environmental and Social Foundation)

เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมที่งาน “เยาวชนไทยขับเคลื่อนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม”

พร้อมเปิดตัวภาพยนตร์สารคดีเพื่อสิ่งแวดล้อมที่สร้างสรรค์โดยเยาวชนคนรุ่นใหม่

              นอกจากบทบาทหน้าที่ด้านงานแสดงที่มีผลงานให้เห็นกันอย่างต่อเนื่องแล้ว ล่าสุดนักแสดงหนุ่มมากความสามารถ  “หลุยส์ เฮส” ที่ได้ขึ้นแท่นเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม  (ESF) ได้เข้าร่วมงานกิจกรรม เยาวชนไทยขับเคลื่อนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม WORLD ENVIRONMENT DAY POWER OF THE YOUTH WILDLIFE GUARDIANS ที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม  (ESF) ในวันสิ่งแวดล้อมโลก พร้อมเปิดตัวภาพยนตร์สารคดีชุด ‘The Youth Wildlife Guardian’ เกี่ยวกับเรื่องราวของสิ่งมีชีวิตที่น่าสนใจซึ่งสร้างสรรค์โดยกลุ่มเยาวชนไทย ‘Youth Wildlife Guardian’ กลุ่มเยาวชนที่มีความหลงใหลในธรรมชาติและสัตว์ป่าผู้มีความประสงค์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิฯ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเจตจํานงในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้สืบต่อไป

              โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เดินทางมาร่วมกล่าวเปิดงานว่า “ผมขอแสดงความชื่นชมมูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESF) และนักเรียนในโครงการ Youth Wildlife Guardian ที่ได้จัดกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลกมาอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนไทยได้เผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์เพื่อสร้างโอกาสการรับรู้ถึงสถานการณ์ของสัตว์ป่าและสัตว์ทะเลที่หายาก ร่วมทั้งรณรงค์ให้ทุกคนได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาเหล่านี้ เพราะการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นไม่ใช่เรื่องของภาคส่วนใดเป็นการเฉพาะ แต่เป็นเรื่องของทุกคนไม่ว่าจะเป็น ‘ภาครัฐ’  ที่ต้องจริงจังกับการบังคับใช้กฎกติกา ‘เอกชน’ ที่ต้องจริงใจกับการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ ‘ภาคประชาสังคม’ ที่ต้องร่วมแรงร่วมใจกันรณรงค์เพื่ออนาคตที่ดีขึ้น ดังนั้น พลังของเยาวชนรุ่นใหม่จึงเป็นส่วนที่สำคัญยิ่งในภารกิจนี้ เพราะพวกเขาจะสามารถเป็นกระบอกเสียงที่ส่งต่อความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้ และเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องช่วยกันส่งเสริมพลังของพวกเขาต่อไป”

ดร.อลงกต ชูแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESF) กล่าวว่า “เราเป็นองค์กรที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแรงผลักดันต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ในประเทศไทย โดยให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและใช้ศาสตร์ของสิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นตัวกลางในการสื่อสาร โดยครั้งนี้กลุ่มเยาวชน Youth Wildlife Guardian ทั้ง 26 คน ได้สร้างภาพยนตร์สารคดีชุด The Youth Wildlife Guardian ที่ประกอบไปด้วยเรื่องราวของสิ่งมีชีวิตที่น่าสนใจเกี่ยวกับสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์หรือสิ่งมีชีวิตอื่นที่เด็กๆ มีความสนใจ และอยากจะส่งต่อเรื่องราวเหล่านั้นให้คนอื่นได้รู้จักและเรียนรู้ไปด้วยกัน โดยภาพยนตร์สารคดีแต่ละเรื่องเด็กๆ ได้ถ่ายทอดความเป็นเอกลักษณ์และความพิเศษในแบบของตัวเองโดยมีเป้าหมายเดียวกันนั่นก็คือ เพื่อปกป้องสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตบนโลกที่อาศัยร่วมกันในบ้านหลังเดียวกัน”

ด้านแบรนด์แอมบาสเดอร์มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESF)  “หลุยส์ เฮส” เสริมว่า “ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและช่วยกันอนุรักษ์ให้สิ่งเหล่านี้ไม่หายไป เพราะเราเองก็เป็นคนชอบท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ศึกษาความงดงามของสิ่งมีชีวิตต่างๆ และรู้สึกหลงรักในทุกครั้งที่ได้ออกเดินทาง ก็คิดอยู่เสมอว่าถ้าสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นต้องสูญพันธุ์คงจะเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอยู่ไม่น้อย ซึ่งในโปรเจ็คภาพยนตร์สารคดีที่ได้กลุ่มเยาวชน Youth Wildlife Guardian มาร่วมกันสร้างสรรค์นั้น เรารู้สึกชื่นชมเป็นอย่างมากที่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนี้ อีกทั้งยังสามารถส่งต่อความรู้และประสบการณ์ที่พวกเขาได้สัมผัสไปยังเด็กคนอื่นๆ ได้ โดยหลังจากเปิดตัวภาพยนตร์สารคดีนี้ ทางมูลนิธิฯ และเด็กๆ จำนวน 26 คน จะออกเดินทางทั่วประเทศเป็นเวลา 10 เดือนโดยรถ Environment Education Unit เพื่อเดินทางไปยังโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศไทยและเผยแพร่ภาพยนตร์สารคดีเหล่านี้ให้กับคนรุ่นใหม่”

เด็กชายทิศธรรม์ กาญจนพาสน์ (น้องทริสตั้น) และเพื่อน

โดยภาพยนตร์สารคดีชุด ‘The Youth Wildlife Guardian’ จำนวน 25 เรื่อง ประกอบไปด้วย ‘Our Beloved Eastern Sarus Crane’ การหายตัวไปของนกกระเรียน?, ‘The Sanctuary of the Leatherback’ เรื่องราวของเต่ามะเฟือง, ‘The Great Hornbill’ นกกกหรือนกเงือก, ‘Alarm from Nature, Coral Bleaching in Thailand’ สถานการณ์การฟอกขาวของปะการัง, ‘In a Natural Hybrid Zone of Gibbon’ ชะนีมือขาวและชะนีมงกุฏ, ‘Ghost Pipe fish the mystery in the dark’ การปรากฏตัวของปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ, ‘The Nicobar Pigeon’ นกชาปีไหน, ‘The Sharks Of The Sand LEOPARD SHARK CHRONICLES’ ฉลามเสือดาวระบบนิเวศของมหาสมุทร, ‘The Butterfly Lizard’ เรื่องราวของแย้, ‘Pink! Intellects of the Sea’ โลมาสีชมพ, ‘Unlocking The Mysterious Facts of Fossils’ เรื่องราวเกี่ยวกับฟอสซิล, ‘Kitti’s Hog-nosed Bat the smallest mammal in the world’ ค้างคาวคุณกิตต, ‘A life out of the limelight forgotten survivor’ ไครนอยด์หรือลิลลี่ทะเล, ‘Sountheast Asia’s magnificent Banteng’ เรื่องราวของวัวแดง, ‘The Voyage of Coral Colonies’ เรื่องราวของเต่ากระ, ‘Tiptoe in Thailand with the Phusa Sirikit’ ปูราชิน, ‘Nudibranchs Tiny Wonders of the Reefs’ เรื่องราวของทากเปลือย, ‘Religions and Asian Elephants Conservation’ ช้างเอเชีย, ‘The Forgotten Seahorses’ ม้าน้ำหางเสือ, ‘The Wonders of Rhinoceros Hornbill’ นกเงือกหัวแรด, ‘The Secret of Morey Eel’ ปลาไหลมอเรย, ‘Coffee and Ecosystem’ กะเหรี่ยงปกาเกอะญอ, ‘The Angels of Andaman’ กระเบนราหู, ‘The Community Forest’ ป่าชุมชน และ ‘Beyond the Surface: The Whals Shark Chronicles’ ฉลามวาฬ

นอกจากนี้ตัวแทนเยาวชนจากกลุ่ม Youth Wildlife Guardian ยังได้กล่าวถึงความรู้สึกที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์ภาพยนตร์สารคดี เริ่มจาก เด็กชายทิศธรรม์ กาญจนพาสน์ (น้องทริสตั้น) จากโรงเรียนบางกอกพัฒนา Year 10  เจ้าของภาพยนตร์เรื่อง ‘The Nicobar Pigeon’ กล่าวว่า “ผมเคยไปค่ายแล้วมีโอกาสได้ไปขึ้นเกาะที่สิมิลันแล้วบังเอิญไปเจอนกชาปีไหน แล้วรู้สึกว่ามันสวยและน่าสนใจมากๆ จากนั้นผมก็เริ่มสนใจเกี่ยวกับนก พอมีโอกาสได้ทำสารคดีก็เลยเลือกทำเกี่ยวนกชาปีไหนเพราะเป็นนกที่ชื่นชอบและเป็นจุดเริ่มต้นให้ผมศึกษาเกี่ยวกับนก ซึ่งนกชาปีไหนเป็นนกที่มีขนาดเท่าไก่แจ้ และเป็นนกชนิดเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Caloenas ซึ่งสายพันธุ์อื่นทั้งหมดสูญพันธุ์ไปแล้ว สำหรับผมนกชาปีไหนเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์มากเลยอยากให้ทุกคนได้รู้จักนกชาปีไหนมากขึ้นและช่วยกันอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตนี้เอาไว้ เพื่อธรรมชาติยังคงอุดมสมบูรณ์สืบต่อไป”

เด็กหญิงนัจภัค นิ่งเจริญ (น้องอันนา)

และเด็กหญิงนัจภัค นิ่งเจริญ (น้องอันนา) จากโรงเรียน DBS Denla British School Year 9 เจ้าของเรื่อง ‘The Wonders of Rhinoceros Hornbill’ เผยว่า “นกเงือกหัวแรดเป็นนกที่รูปร่างสวยและหายากเพราะถูกเอาไปขาย แต่นอกจากความสวยงามยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์พืชและรักษาสมดุลของระบบนิเวศอีกด้วย และนกที่สวยงามเหล่านี้กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงและการเพาะพันธุ์นกชนิดนี้นอกสภาพธรรมชาติอาจไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่สามารถทำได้ หนูอยากให้นกมีมากขึ้นเพื่อช่วยรักษาระบบนิเวศเพราะตอนนี้ก็มีปัญหาเรื่องโลกร้อน นกพวกนี้สามารถเป็นตัวช่วยให้ฟื้นฟูป่าได้ อยากให้ทุกคนให้ความสำคัญเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพราะเป็นสิ่งที่สำคัญในอนาคตมากๆ ภาวะโลกร้อนจะส่งผลเสียรอบตัวเรา การที่มีสัตว์ที่สามารถช่วยฟื้นฟูป่าได้จะช่วยให้ลดโลกร้อนและอนาคตจะค่อยๆ ดีขึ้น”

กลุ่มเยาวชนไทย ‘Youth Wildlife Guardian’

ติดตามข่าวสารของมูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม  (ESF) และกลุ่มเยาวชน Youth Wildlife Guardian ได้ทาง Facebook Page: มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม : Environmental and Social Foundation